English  English

ประวิติแม่ฮ่องสอน

   จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประวัติความเป็นมายาวนานมากตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม่มีเอกสารทาง

ประวัติศาสตร์ให้ศึกษาค้นคว้า ได้แต่คาดคะเนจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นในบริเวณนี้ ซึ่งระบุว่าใน

ภูมิภาคแถบนี้ได้มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มาตั้งแต่ยุคหินเก่าการตั้งถิ่นฐานและลําดับพัฒนาการทาง

ประวัติศาสตร์ของแต่ละอําเภอมักจะคาบเกี่ยวกันหลายอําเภอ คือ กลุ่มอําเภอปาย อําเภอปางมะผ้า อําเภอ

เมืองแม่ฮ่องสอน และอําเภอขุนยวม กับ กลุ่มอําเภอแม่สะเรียง อําเภอแม่ลาน้อย และอําเภอสบเมย

  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 1800 คาดคะเนความเป็นไปในทางประวัติศาสตร์จากหลักฐาน

ทางโบราณคดีที่ขุดค้นได้จากที่ต่าง ๆ ในอําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อําเภอปางมะผ้า และอําเภอขุนยวม ที่บ่งบอก

ว่ามีการตั้งถิ่นฐานคนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลาย (32,000 ปีมาแล้ว) ถึงยุคโลหะ-

เหล็ก (ประมาณ 1,100 ปีมาแล้ว) ในพื้นที่บริเวณนี้ หลังจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ผ่านไป เริ่มมีหลักฐานที่เป็น

บันทึกเรื่องราว พงศาวดาร ตํานาน และคําบอกเล่าสืบต่อกันมา ประกอบหลักฐานที่เป็นโบราณสถานและ

โบราณวัตถุที่ค้นพบในพื้นที่ สรุปได้ว่าการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ 3 ประเด็นหลัก คือ

 1) คนไต (ไทใหญ่) อพยพมาจากรัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เข้ามาตั้งหลักแหล่งทําการเกษตร

ในพื้นที่ต่าง ๆ เมื่อการประกอบอาชีพมั่นคงเป็นหลักฐานก็ตั้งเป็นหมู่บ้าน โดยบางแห่งยังตั้งชื่อหมู่บ้านตรงกันกับ

หมู่บ้านรัฐฉาน เช่น บ้านเมืองปอน ซึ่งคนไตเรียกว่า “เมิงป๋อน” ในรัฐฉานก็มี “เมิงป๋อน” เช่นเดียวกัน และคน

เฒ่าคนแก่ของบ้านเมืองปอนเคยเล่าเรื่องในอดีตให้ฟังว่าครอบครัวของตนสืบเชื้อสายมาจากเมิงป๋อนในรัฐฉาน

หรือ ที่อําเภอแม่ลาน้อยเดิมเป็นที่อยู่ของชนเผ่าลัวะ ต่อมาชาวไตได้อพยพเข้ามาแทนที่ชาวลัวะซึ่งถอยขึ้นไป

อาศัยอยู่ตามภูเขาสูง

 2) การขยายตัวของหมู่บ้านต่าง ๆ ที่เป็นหมู่บ้านใหญ่มีผู้คนมากขึ้น ที่ทํากินไม่เพียงพอ จําเป็นต้อง

แสวงหาที่ทํากินใหม่ เริ่มแรกจะออกไปทําไร่ทําสวนก่อน นานเข้าเมื่อมีเพื่อนฝูงไปทําไร่ทําสวนรวมกันมากขึ้นจะ

อพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันจนกลายเป็นหมู่บ้าน การตั้งถิ่นฐานในลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของชาวแม่ฮ่องสอน

โดยเฉพาะชาวเขา ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขาและพื้นที่สูง มีชีวิต

ความเป็นอยู่ผูกพันกับป่าเขาแม่น้ํา เมื่อบริเวณใดมีสมาชิกหนาแน่นขึ้นก็จะออกแสวงหาทําเลใหม่ให้ทํามาหากิน

ได้โดยสะดวก หรือ ชาวเขาบางเผ่าปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ก็จะอพยพเข้าป่าลึกและเขาสูง เพื่อ

ทํามาหากินกับป่าตามที่ถนัดมาแต่เดิม เช่น ชนเผ่าลัวะ ที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นชนเผ่าที่มีความเจริญในภูมิภาค

แถบนี้ แต่เพราะการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมไม่ดี ปรับตัวให้กลมกลืนกับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ชนเผ่านี้จึง

กระจัดกระจายหาถิ่นฐานทําเลใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นบนภูเขาสูง

  3) คนเมืองอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียง โดยจังหวัดที่มีการอพยพเข้ามามากที่สุด คือ เชียงใหม่ รองลง

ไป คือ จังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย สาเหตุที่อพยพคือต้องการแสวงหาทําเลที่ทํากิน

ต่อมาเมื่อมีก ้งถิ่นฐาน มั่นคงแล้ว ผู้คนค่อนข้างจะมีถิ่นฐาน ่อยู่เป็นหลักแหล่งถาวร การอพยพการตันได้านทีลัรพ

เคลื่อนย้้ายของผู้คนจึงมีน้อย ผู้ปจึปกครองเมืองจึงจัดระบบก านเมือง เป็นรูปแบ องหน้าด่าน โดยยกการบ้งให้บบเมืดก

แม่ฮ่องสอนเป็นเมืองห าด่านใน ปี พ.ศ. 2417 มีขุนยวม เมืองปาย เป็นหน้ปเนเขตแดน เมืองยวมเป็นเมืองรอง ให้มีมืมืมี

    รูหนึใหม่นาเจ้าฟ้าปกครองเมือง และจัดในรูปเป็นส่วนห ่งของเชียงใ เรียกว่า “บริเวณเชี ยงใหม่ตะวันตก” ต่อมา

ป็พายัเปลีจังสอน” ดังเช่น จจุบันนปัเปลี่ยนเป็น “บริเวณพ พเหนือ” และสุดท้ายเ ่ยนเป็น “จงหวัดแม่ฮ่อง


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.maehongson.go.th

English